ในระยะแรกการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องเป็นไปตามพระราช บัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 โดยมีคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะเป็นผู้ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และไม่ให้มีผู้แสวงหาผลประโยชน์หรือใช้วิชาชีพโดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน ต่อมามีการออกพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ เพื่อให้การประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เป็นองค์กรที่มีบทบาทควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และส่งเสริมความ ก้าวหน้า ของวิชาชีพ คณะกรรมการวิชาชีพสาขาเทคนิคการแพทย์ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์ ควบคุม ส่งเสริม พัฒนาและกำหนดมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์
เลขาธิการสภาเทคนิคการแพทย์ ร่วมกับสมาพันธ์วิชาชีพ 11 องค์กร ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ในวันอังคารที่ 27 มีนาคม 2561 เวลา 13.30 น. ที่ผ่านมา รศ.ทนพญ.ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ นายกสภาเทคนิคการแพทย์ มอบหมายให้ ทนพญ.ศิริรัตน์ ลิกานนท์สกุล เลขาธิการสภาเทคนิคการแพทย์ เป็นตัวแทนเข้าร่วมกับสมาพันธ์วิชาชีพ 11 องค์กร เพื่อยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อข้อเสนอแนะการแก้ไขร่างพรบ.การอุดมศึกษา พ.ศ........ และข้อเสนอแนะการแก้ไขร่าง พรบ.ระเบียบการบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา พ.ศ..........
ในการณ์นี้ทั้ง 11 องค์กรวิชาชีพ ได้ร่วมกันออกมาแสดงความคิดเห็นพิ่มเติมในหลายประด็น ในการแก้ไขร่างพรบ.การอุดมศึกษา พ.ศ........ และการแก้ไขร่างพรบ.ระเบียบการบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา พ.ศ..........โดยเฉพาะการรับรองหลักสูตรในสายวิชาชีพต่างๆ นำโดยนายทัศไนย ไชยแขวง อุปนายกฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาทนายความ ได้กล่าวถึงความกังวลประเด็นประสิทธิภาพของสายงานบังคับบัญชาที่ทับซ้อนระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกับคณะกรรมการอุดมศึกษา ซึ่งขัดต่อหลักการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งการบริหารระดับอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ อาจทำให้สภาวิชาชีพไม่สามารถให้การรับรองหลักสูตรสายวิชาชีพต่างๆในมหาวิทยาลัยได้ และยังมีข้อบกพร่องที่อาจนำไปสู่ปัญหาในทางปฏิบัติ
นอกจากนี้การกำหนดในเรื่องของนิยาม "อำนาจหน้าที่ขององค์กรวิชาชีพ" การกำหนดตำแหน่งประธานกรรมการการอุดมศึกษา อาจจะขัดต่อหลักการประชาธิปไตย หลักการธรรมาภิบาล รวมถึงประเด็นการให้บริการทางวิชาชีพจะเข้าข่ายการแสวงหารายได้ ที่ให้สถาบันการศึกษาสามารถดำเนินธุรกิจให้บริการทางวิชาชีพที่เกี่ยวสภาวิชาชีพนั้นๆ และกฏหมายที่ตราขึ้นมาใหม่นั้นจะต้องไม่กระทบ หรือขัดแย้ง กับกฏหมายที่มีสภาพบังคับใช้อยู่